วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

การไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร

การไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร
 
การไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร
น้ำเป็นของไหลเช่นเดียวกับอากาศ การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรจึงมีลักษณะคล้ายการไหลเวียนของกระแสลมในบรรยากาศ หากแต่การไหลเวียนของกระแสน้ำมีอุปสรรคขวางกั้น เนื่องจากหนึ่งในสามของพื้นผิวโลกเป็นแผ่นดิน ดังนั้นการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทรจึงไม่ปรากฏรูปแบบที่ชัดเจนเหมือนดังกระแสลม

ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่ง

น้ำทะเลในมหาสมุทรมีความเค็มไม่เท่ากัน น้ำทะเลที่เค็มกว่ามีความหนาแน่นสูงจะเคลื่อนไปแทนที่น้ำทะเลที่มีความหนาแน่นต่ำ เราจึงแบ่งการไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทรเป็น 2 ประเภทคือ กระแสน้ำบริเวณพื้นผิว (Surface currents) และกระแสน้ำลึก (Deep currents)
การไหลเวียนของกระแสน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร
กระแสน้ำพื้นผิวมหาสมุทรเกิดขึ้นเนื่องจากความฝืดของอากาศกับผิวน้ำใน มหาสมุทร กระแสลมเคลื่อนที่ด้วยความแตกต่างของพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งอากาศสะสมไว้ พลังงานจากอากาศถ่ายทอดลงสู่ผิวน้ำอีกทีหนึ่ง กระแสลมพัดพาให้กระแสน้ำเคลื่อนที่ไปในทางเดียวกัน
ภาพที่ 1 อิทธิพลของกระแสลมต่อกระแสน้ำในมหาสมุทร
ภาพที่ 1 อิทธิพลของกระแสลมต่อกระแสน้ำในมหาสมุทร
ภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่า
ลมสินค้าตะวันออกบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอิทธิพลพัดให้น้ำในมหาสมุทรเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และลมตะวันตกในบริเวณใกล้ขั้วโลก มีอิทธิพลพัดให้น้ำในมหาสมุทรเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก การไหลของน้ำในมหาสมุทรเคลื่อนที่เป็นรูปวงเวียน ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้

ทรงกลมของโลกทำให้น้ำในมหาสมุทรมีอุณหภูมิแตกต่างกัน

พลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบบริเวณศูนย์สูตรมากกว่าขั้วโลก น้ำทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตรมีอุณหภูมิสูงจึงไหลไปทางขั้วโลก ในขณะที่น้ำทะเลบริเวณขั้วโลกมีอุณหภูมิต่ำกว่าไหลเข้ามาแทนที่ (ภาพที่ 2)

เนื่องจากน้ำมีคุณสมบัติในการเก็บความร้อนได้ดีกว่าพื้นดินกล่าว คือ

ใช้เวลาในการสะสมความร้อน และเย็นตัวลงนานกว่าพื้นดิน ดังนั้นกระแสน้ำพบพื้นผิวมหาสมุทรจึงพัดพาพลังงานความร้อนไปด้วยเป็นระยะทาง ไกล ทำให้เกิดผลกระทบต่อภูมิอากาศ และระบบนิเวศบนพื้นที่ชายฝั่งเป็นอย่างยิ่ง

อย่างก็ตาม อิทธิพลของกระแสลมส่งผลกระทบกระแสน้ำในมหาสมุทร

เพียงความลึก 1 กิโลเมตรเท่านั้น นั่นหมายถึง การไหลเวียนของกระแสน้ำผิวพื้น มีอิทธิพลต่อน้ำในมหาสมุทรประมาณร้อยละ 10
ภาพที่ 2 กระแสน้ำพื้นผิวมหาสมุทร
ภาพที่ 2 กระแสน้ำพื้นผิวมหาสมุทร
การไหลเวียนของกระแสน้ำลึกในมหาสมุทร
น้ำทะเลมีรสเค็ม เนื่องจากมีเกลือซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ปะปนอยู่ในรูปของสารละลาย ในน้ำทะเล 1 ลิตร (1,000 กรัม) มีเกลืออยู่ 35 กรัม ในบริเวณที่น้ำทะเลอุณหภูมิสูง เช่น ใจกลางมหาสมุทรบริเวณเส้นศูนย์สูตร แสงแดดมีความเข้มสูง ทำให้น้ำในมหาสมุทรระเหยเป็นไอน้ำ ทิ้งแร่ธาตุที่ตกค้างไว้ในจนน้ำทะเลมีความเข้มของเกลือมาก

แต่ในที่หนาวเย็นที่บริเวณขั้วโลก แสงแดดตกกระทำพื้นผิวโลกเป็นมุมเฉียง พลังงานที่ตกกระทบน้อย

ปริมาณการระเหยของน้ำทะเลย่อมน้อยตามไปด้วย ความเข้มของเกลือจึงไม่มาก ในบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ ความเข้มของเกลือจะน้อยเนื่องจาก อิทธิพลของน้ำจืดจากแม่น้ำลำคลอง ทำให้น้ำทะเลเจือจาง
ตารางที่ 1 ประจุเกลือในน้ำทะเล
คลอไรด์ (Cl-) 54.3%
โซเดียม (Na+) 30.2%
ซัลเฟต (SO4++) 7.6%
แมกนีเซียม (Mg++) 3.7 %
แคลเซียม (Ca++) 1.2%
โปแตสเซียม (K+) 1.1%
ประจุอื่นๆ 1.9%
เกลือในทะเลและมหาสมุทรมีกำเนิดมาจากแร่ธาตุบนพื้นโลก
น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี น้ำฝนละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศทำให้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ น้ำที่อยู่บนพื้นโลกละลายแร่ธาตุในหินและดิน และไหลรวมกันเป็นแม่น้ำลำธาร ไปสะสมกันในมหาสมุทร

สารละลายเกลือเหล่านี้อยู่ในประจุของแร่ธาตุที่สำคัญได้แก่

ประจุโซเดียม (Na+) และ
ประจุคลอไรด์ (Cl-)

เมื่อน้ำระเหยออกไป ประจุเหล่านี้รวมตัวกันเป็นสารประกอบ ได้แก่

เกลือแกง (NaCl)
ภาพที่ 2 กระแสน้ำพื้นผิวมหาสมุทร
ภาพที่ 2 กระแสน้ำพื้นผิวมหาสมุทร
น้ำทะเลในแต่ละส่วนของโลกมีความเค็มไม่เท่ากันและมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
น้ำทะเลที่มีความหนาแน่นสูงย่อมไหลไปแทนที่น้ำทะเลที่มีความหนาแน่นต่ำ การหมุนเวียนของกระแสน้ำลึกมี ปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ

ความร้อน (Thermo) และ
เกลือ (Haline)

เราเรียกการไหลเวียนในลักษณะนี้ว่า เทอร์โมฮาลีน (Thermohaline)
วงจรการไหลเวียนของกระแสน้ำลึกในมหาสมุทร
มีชื่อเรียกว่า แถบสายพานยักษ์ (Great conveyor belt) น้ำทะเลความหนาแน่นสูงอุณหภูมิต่ำจมตัวลงสู่ท้องมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือไหล ลึกลงทางใต้ แล้วเลี้ยวไปทางตะวันออก ขณะที่มันไหลผ่านมหาสมุทรอินเดียอุณหภูมิจะสูงขึ้น และลอยตัวขึ้นทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก (ภาพที่ 3)
น้ำทะเลความหนาแน่นต่ำอุณหภูมิสูงจากมหาสมุทรแปซิฟิก
ไหลวกกลับผ่านมหาสมุทรอินเดียลงมาทางมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ แล้วไหลย้อนมาทางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ กระแส น้ำมีความเค็มมากขึ้นเนื่องจากการระเหยของน้ำประกอบกับการเดินทางเข้าใกล้ ขั้วโลกทำให้อุณหภูมิต่ำลง จนจมตัวลงอีกครั้งเป็นการครบรอบวงจร ใช้เวลาประมาณ 500 2,000 ปี การไหลเวียนเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในระยะยาว อาทิเช่น ยุคน้ำแข็งเล็ก ในยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 อิทธิพลของการไหลเวียนแบบเทอร์โมฮาลีน มีอิทธิพลต่อน้ำในมหาสมุทรประมาณร้อยละ 90

ที่มา variety.teenee.com


มหาสมุทรที่ลึกที่สุด


หลุมลึก (Trench) หรือร่องน้ำลึก เป็นบริเวณที่เป็นร่องหลุมลึกของพื้นผิวท้องทะเลที่มีลักษณะภูมิประเทศยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ดังนั้น ในบริเวณนี้ แผ่นเปลือกโลก จะมีความบางมากเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายแห่งในโลกนี้ วันนี้ ผมจะพาทุกท่านไปพบกับ 10 อันดับหลุมลึก (ร่องน้ำลึก) ที่ลึกที่สุดในโลกกัน ไปดูกันว่าจะมีร่องอะไรบ้าง !!

10. ร่องน้ำลึกเคย์แมน
Cayman trench




ธงชาติของหมู่เกาะเคย์แมน

บริเวณ : ทะเลแคริบเบียน เป็นที่ตั้งของหมู่เกาะเคย์แมน อยู่ทางตอนใต้ของเกาะคิวบา ทางตะวันตกของจาไมก้า ทวีปอเมริกากลาง
มหาสมุทร : แอตแลนติก
ความลึก : 7,680 เมตร (25,197 ฟุต)


9. หลุมลึกอาลิวเชียน
Aleutian Trench



บริเวณ : หมู่เกาะอาลิวเชียน ของมลรัฐอะแลสก้า ของสหรัฐอเมริกา อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา และทางตะวันออกของรัสเซีย
มหาสมุทร : แปซิฟิก
บริเวณที่ลึกที่สุด : 7,822 เมตร (25,662 ฟุต)


8. หลุมลึกเปรู-ชิลี
Peru-Chile Trench



บริเวณ : เป็นหลุมลึกที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกนาซคา และแผ่นอเมริกาใต้ เกิดเป็นหลุมลึก อยู่บริเวณทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ชายฝั่งประเทศเปรู ชิลี ทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือไปใต้
มหาสมุทร : แปซิฟิก
บริเวณที่ลึกที่สุด : 8,050 เมตร (26,410 ฟุต)


7. หลุมลึกเปอร์โต ริโก้
Puerto Rico Trench




ธงชาติของเปอร์โต ริโก

บริเวณ : เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หลุมลึกมิลวอร์คกี้ (Milwaukee Deep) อยู่ในทะเลแคริบเบียน เป็นที่ตั้งของรัฐอิสระปกครองตนเองภายใต้อาณัติของสหรัฐอเมริกาเปอร์โตริโก้ อยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ร่องน้ำลึกทอดตัวตามแนวขวาง เป็นร่องน้ำลึกอันดับแรกที่ถ้านำยอดเขาเอเวอร์เรสต์ (Everest) มาคว่ำกลับหัวลงในร่องน้ำลึกนี้ ยอดเขาจะไม่ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของร่องน้ำลึก
มหาสมุทร : แอตแลนติก
บริเวณที่ลึกที่สุด : 9,220 เมตร (30,249 ฟุต)


6. หลุมลึกเคอร์มาเดค
Kermadec Trench



บริเวณ : อยู่บริเวณทางตะวันออกของประเทศนิวซีแลนด์ ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มเกาะเคอร์มาเดค ซึ่งเป็นหมู่เกาะในความปกครองของนิวซีแลนด์อีกด้วย
มหาสมุทร : แปซิฟิกตอนล่าง
บริเวณที่ลึกที่สุด : 10,047 เมตร (32,962 ฟุต)


5. หลุมลึกมินดาเนา
Mindanao Tranch



บริเวณ : ทางตอนใต้ของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์
มหาสมุทร : แปซิฟิก
บริเวณที่ลึกที่สุด : 10,497 เมตร (34,439 ฟุต)


4. หลุมลึกคูริล
Kuril Trench



บริเวณ : ทอดตามแนวเหนือ-ใต้ จากคาบสมุทรคัมชัตก้าของรัสเซีย ลงมาถึงเกาะฮอกไกโด และเกาะฮอนชู ของญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของ "แนววงแหวนไฟ" (Ring Fire) ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดภูเขาไฟระเบิดมากที่สุดในโลก
มหาสมุทร : แปซิฟิก
บริเวณที่ลึกที่สุด : 10,542 เมตร (34,587 ฟุต)


3. หลุมลึกญี่ปุ่น
Japan Trench



บริเวณ : เป็นร่องน้ำลึกที่ต่อมาจากร่องน้ำลึกคูริล ทางตอนเหนือ มีการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ไปทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น ยาวลงไปถึงหมู่เกาะริวกิวซึ่งเป็นส่วนหนึงของญี่ปุ่นเอง อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในแนววงแหวนไฟเหมือนกับร่องน้ำลึกคูริวอีกด้วย
มหาสมุทร : แปซิฟิก
บริเวณที่ลึกที่สุด : 10,554 เมตร (34,626 ฟุต)


2. หลุมลึกตองกา
Tonga Trench



บริเวณ : อยู่ใกล้กับหมู่เกาะตองกา ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ลงไปจนถึงทางตอนเหนือของนิวซีแลนด์
มหาสมุทร : แปซิฟิก
บริเวณที่ลึกที่สุด : 10,882 เมตร (35,702 ฟุต)


1. ร่องน้ำลึกมาเรียนา
Mariana Trench or Marianas Trench






ธงชาติของหมู่เกาะนอร์ธเทิร์นมาเรียนา

บริเวณ : เป็นที่ตั้งของหมู่เกาะนอร์ธเทิร์นมาเรียนนา (Northern Mariana) ซึ่งเป็นดินแดนในภาวะทรัสตี(เดิม) ขององค์การสหประชาชาติ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ประหลาดใต้ท้องทะเลที่มีหน้าตาแปลกประหลาดมากมาย หลายชนิด
มหาสมุทร : แปซิฟิก
บริเวณที่ลึกที่สุด : มีชื่อว่า จุดชาเลนเจอร์ (Challenger Deep) มีความลึก 11,002 เมตร (36,161 ฟุต) หรือระยะทางจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปสนามบินดอนเมืองเลยทีเดียว (11 กิโลเมตร)


คลื่นมหาสมุทร


มหาสมุทร

มหาสมุทร คือ เปลือกโลกส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับแอ่งและมีน้ำปกคลุมอยู่ มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 71 ของเปลือกโลกทั้งหมด มหาสมุทรอยู่ระหว่างทวีปและอยู่ล้อมรอบทวิปด้วย ส่วนที่อยู่ขอบ ๆ ของมหาสมุทรเรียกว่า ทะเล บางส่วนเรียกว่าอ่าว บางทีเราใช้คำว่าทะเลแต่หมายถึงมหาสมุทรก็มี บางทีเราใช้คำว่าทะเลแต่หมายถึงมหาสมุทรก็มี
ทะเล มหาสมุทรนั้นเป็นหินจำพวกหินบะซอลต์จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ไซมา ผิวหน้าของทะเลมหาสมุทรเรียกว่า ระดับน้ำทะเล ซึ่งไม่ได้แบนราบเหมือนแผ่นกระดาษ แต่จะโค้งนูนออกมาเหมือนเปลือกโลกส่วนนั้น ระดับน้ำทะเลนี้ไม่คงที่แต่เปลี่ยนแปลงได้ เพราะน้ำเป็นของเหลวจึงเปลี่ยนได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลเป็นการเปลี่ยนเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะมีน้ำขึ้นน้ำลง หรือมีฝนตกมากผิดปกติ หรือมีลมพัดมาเหนือน้ำทะเล และจะไม่ทิ้งร่องรอยไว้เลย แต่จะสังเกตได้ที่แถบชายฝั่ง พื้นท้องมหาสมุทรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลกนั้น จะมีลักษณะโค้งนูนออกมาเหมือนระดับน้ำทะเล การที่มีน้ำขังอยู่ได้เพราะส่วนนี้อยู่ไกล้จุดศูนย์กลางของโลกมากกว่าส่วน ที่เป็นพื้นดินที่อยู่ติดต่อกัน ทะเลมหาสมุทรมีความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 3.7 กิโลเมตร(12,450 ฟุต หรือ 2.36 ไมล์ แต่ส่วนใหญ่ลึกกว่านี้ประมาณ 4.7 กิโลเมตร ( 3 ไมล์ ) หรือมากกว่านั้น และยังมีส่วนที่ลึกมากกว่านี้ คือลึกถึง 9.5 กิโลเมตร ( 6 ไมล์ ) ที่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งถือกันว่าเป็นตอนที่ลึกที่สุดของทะเลมหาสมุทรทั้งหมด มีชื่อเรียกว่า ร่องลึกบาดาลมาเรียน่านั้นลึกถึง 10.692 กิโลเมตร ( 35,640 ฟุต)
ทะเลมหาสมุทรนั้นแบ่งออกได้เป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ (รูปที่ 1 )

1. ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่ตื้นที่สุดและอยู่ติดกับส่วนที่เป็นทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป พื้นของไหล่ทวีปบางตอนจะเรียบ บางตอนมีร่องยาว บางตอนมีสันเนิน บางตอนมีแอ่งกลม บางตอนมีเนินเขา บางส่วนเป็นหิน บางส่วนปกคลุมด้วยโคลน ทราย หรือกรวด
ไหล่ ทวีป เป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบกรรมวิธีปรับระดับ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวแปรรูปของเปลือกโลก ไหล่ทวีปจะมีระดับสูงขึ้นและมีขนาดกว้างออกไป เพราะมีวัตถุต่าง ๆ จากพื้นดินมาทับถมอยู่ ตัวกระทำที่นำเอาวัตถุเหล่านั้นมาคือ แม่น้ำ ลมและสิ่งที่หลุดร่วงจากฝั่งจากการกระทำของทะเลมหาสมุทรเอง ถ้าชายฝั่งจมตัวลงน้ำทะเลจะไหลท่วมขึ้นไปถึงส่วนที่ป็นที่ราบชายฝั่ง ไหล่ทวีปจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าชายฝั่งยกตัวสูงขึ้นไหล่ทวีปอาจกลายเป็นที่ราบชายฝั่งไป

2. ลาดทวีปอยู่ ถัดจากไหล่ทวีป มีความลาดชันมาก 65 กิโลเมตรต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตรลาดทวีปในที่ต่าง มีความกว้างแตกต่างกันไปโดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะเป็นตอนที่มีการเปลี่ยนระดับ ลาดทวีปนี้เป็นส่วนขอบของเปลือกโลกที่เรียกว่าไซอัล
ที่ ลาดทวีปและที่ขอบๆ ของไหล่ทวีปบางตอนมีหุบเขาลึกอยู่ระหว่าง หุบผาชันใต้ทะเล (รูปที่ 1) หุบผาชันใต้ทะเลบางแห่งมีสาขาอยู่ด้วย ก้นหุบผาชันใต้ทะเลส่วนใหญ่มีความลึก 1,800-2,000 เมตร ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล สาเหตุของการเกิดหุบผาชันใต้ทะเลนี้ยังไม่ทราบแน่
นอน มีการสันนิษฐานกันหลายอย่าง บ้างว่าเนื่องจากการเปลี่ยนระดับของหิน บ้างว่าเพราะคลื่นขนาดใหญ่ทำให้เกิดกระแสน้ำซึ่งไหลแรง ทำให้ส่วนนั้นสึกกร่อนไป บ้างว่าน้ำใต้ดินบริเวณนั้นลดน้อยลงทำให้เกิดการยุบตัว

รูปที่ 1 ส่วนต่างๆ ของทะเลมหาสมุทร
3. พื้นท้องมหาสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทร ช่วงนี้ไม่ได้ราบเรียบแต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วย ได้แก่สันเขา ซึ่งแคบบ้าง กว้างบ้าง ที่ราบสูง แอ่งรูปกลม แอ่งรูปยาว ภูเขา เช่น สันเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติค บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะซอร์ส และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ใต้ระดับน้ำทะเลคือหมู่เกาะฮาวาย สันเขาแห่งนี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง เป็นตัวอย่างของแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทร (รูปที่ 2 )


รูปที่ 2 ส่วนต่าง ๆ ที่พื้นท้องมหาสมุทร


ภูเขา ใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร ภูเขาใต้ทะเลบางลูกมียอดตัด เรียกว่า กีย์โอต์พบมากที่ตอนกลางและที่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคระหว่างหมู่ เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวายยอดของภูเขากีโอต์อยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200 - 1,800 เมตรเดิมอาจเป็นยอดภูเขาไฟแล้วคลื่นทำให้สึกกร่อนไปหรืออาจมีปะการังมาเกาะ เหนือยอดเขาทำให้ยอดตัด ต่อมาพื้นท้องมหาสมุทรลดระดับต่ำลงหรือน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นเลยจมหายไปใต้ น้ำ (รูปที่ 3)

รูปที่ 3 ภูเขาใต้ทะเลและกีโอต์
ร่อง ลึกบาดาลและเหวทะเล ร่องลึกบาดาลเป็นแอ่งลึกรูปยาวและขอบสูงชันอยู่ที่พื้นท้องมหาสมุทร ร่องลึกบาดาลอยู่ค่อนมาทางลาดทวีปหรือใกล้เกาะ เช่น ร่องลึกบาดาลอาลิวเซียนร่องลึกบาดาลมินดาเนา ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ร่องลึกบาดาลชวา ส่วนเหวทะเลหมายถึงแอ่งลุ่มที่มีความลึกเกินกว่า 600 เมตร กำเนิดของร่องลึกบาดาลนี้ไม่เป็นที่ทราบกันแน่นอน คาดกันว่าเกิดจากการคดโค้งของพื้นท้องมหาสมุทร และร่องลึกบาดาลเป็นส่วนที่ต่ำ แต่มีร่องลึกบาดาลบางแห่งมีลักษณะคล้ายหุบเขาทรุด แนวที่มีร่องลึกบาดาลนั้นเป็นแนวที่เปลือกโลกยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ เพราะแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายครั้งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ใต้ร่อง ลึกบาดาลเหล่านั้นลงไป
อุณหภูมิของน้ำทะเล อุณหภูมิของน้ำทะเลนั้นขึ้นอยู่กับการแผ่รังสีดวงอาทิตย์มากกว่าความร้อนจาก แก่นโลกหรือกัมมันตภาพรังสีจากพื้นท้องมหาสมุทร อุณหภูมิของน้ำทะเลจะต่างกันทั้งทางแนวราบ คือจากเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลก และทางแนวดิ่ง คือจากระดับน้ำทะเลลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรทางแนวราบนั้นที่เส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 26 องศาเซลเซียส ( 80 องศาฟาเรนไฮน์) ที่ขั้วโลกประมาณ -2 องศาเซลเซียส (28องศาฟาเรนไฮน์) ทางแนวดิ่งที่แถบอากาศร้อนอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดร็วจากระดับน้ำทะเลถึง ระดับลึกประมาณ 1,080 เมตร อุณหภูมิที่ระดับนี้ประมาณ 4 องศาเซลเซียส จากระดับลึก 1,080 – 1,800 เมตร อุณหภูมิลดลง พ้นระดับนี้ลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรอุณหภูมิเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ประมาณ 2 องศาเซลเซียส ที่ขั้วโลกอุณหภูมิที่พื้นท้องมหาสมุทรประมาณ 2 องศาเซลเซียส



รูปที่ 4 การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความเค็มตามความลึกของน้ำทะเล

ความเค็มของน้ำทะเล น้ำทะเลมีแร่ธาตุละลายปนอยู่ด้วยมากมาย ประมาณ 3.45 % กับยังมีธาตุอีก 32 ชนิด เช่น คลอรีน โซเดียม แมกนีเซียม ออกซิเจน กำมะถัน แคลเซียม โปแตสเซียม ตอนที่เริ่มมีทะเลมหาสมุทรในตอนแรก ๆ นั้น แร่ธาตุที่ละลายปนอยู่ในน้ำทะเลส่วนใหญ่คงละลายจากหินในบริเวณนั้น ต่อมาจึงได้รับจากพื้นดินโดยแม่น้ำละลายแร่ธาตุจากหินและพาไหลมาด้วย แร่ธาตุบางส่วนจะเปลี่ยนสภาพกลับสู่สภาพเดิมได้ สัตว์ทะเลดูดแร่ธาตุจากน้ำทะเลไปสร้างเปลือกห่อหุ้มลำตัวของมัน ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบแคลเซียม แร่ธาตุบางส่วนจะกลายเป็นของแข็ง จะพบในบริเวณที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นและคาร์บอนไดออกไซด์ระเหยไป หรือในบริเวณที่การระเหยของน้ำทะเลเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก อย่างไรก็ตามแม้ว่าแร่ธาตุละลายบางส่วนจะหายไป แต่ปริมาณของแร่ธาตุละลายในน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ในน้ำทะเลมีเกลือธรรมดามาก เพราะสัตว์ทะเลไม่ต้องการเกลือชนิดนี้ เมื่อน้ำทะเลระเหยไปตามธรรมดาเกลือชนิดนี้จึงยังเหลืออยู่ ตรงกันข้ามกับแคลเซียมซึ่งหายไปจากน้ำทะเลมากกว่า
ความ เค็มของน้ำทะเลที่ระดับน้ำทะเลนั้นแตกต่างไปตามที่ต่าง ๆ ทางซีกโลกเหนือน้ำทะเลเค็มที่สุดที่ใกล้ ๆ กับ ละติจูด 25 องศาเหนือ ทางซีกโลกใต้เค็มมากที่สุดที่ประมาณ ละติจูด 20 องศาใต้ เนื่องจากการระเหยของน้ำทะเลมีมากและหยาดน้ำฟ้ามีน้อย จากบริเวณนี้ไปทางเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกความเค็มจะลดลง (รูปที่ 5)


รูปที่ 5 ความเค็มของน้ำทะเลบริเวณผิวหน้า

ก๊าซ ในน้ำทะเลมีก๊าซละลายปนอยู่ด้วย ที่มีมากคือ ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำทะเลมีมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ 18 –27 เท่า ก๊าซในน้ำทะเลส่วนใหญ่น้ำทะเลดูดมาจากบรรยากาศ บางส่วนมาจากภูเขาไฟใต้ทะเลหรือพวกอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย หรือได้จากสารประกอบบางอย่าง ออกซิเจนเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล คาร์บอนไดออกไซด์เป็นอาหารของสาหร่ายสีเขียวและสีน้ำตาล น้ำทะเลที่เย็นจะเก็บก๊าซได้มากว่าน้ำทะเลที่อุ่น เมื่อน้ำทะเลที่พื้นท้องมหาสมุทรทางขั้วโลกไหลมาทางเส้นศูนย์สูตรจะอุ่นขึ้น และจะปล่อยก๊าซบางส่วนกลับไปในอากาศ บางทีน้ำทะเลไหลขึ้นมาจะอุ่นขึ้นจะปล่อยก๊าซบางส่วนกลับไปในอากาศเช่นเดียว กัน

ความถ่วงจำเพาะของน้ำทะเลและความกดของน้ำทะเล ความถ่วงจำเพาะของน้ำทะเลประมาณ 1.025 ขึ้นอยู่กับความเค็มของน้ำทะเล ที่ขั้วโลกความถ่วงจำเพาะสูงขึ้นประมาณ 1.028 ที่เขตร้อนเหลือประมาณ 1.022 การเปลี่ยนแปลงความแน่นอนของน้ำรวมกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ น้ำหนัก ความเจือจางหรือความเข้มข้นของน้ำทะเล ทำให้เกิดกระแสน้ำบางชนิดในมหาสมุทร
น้ำ ทะเล 1 ลุกบาศก์เมตรจากระดับน้ำทะเลลงไปหนักประมาณ 1.08 ตันหรือ 1,080 กิโลกรัม ลึกลงไปที่ระดับลึก 1,000 เมตรน้ำทะเลจะหนักประมาณ 1,080 ตันต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร

พืชและสัตว์ในทะเลมหาสมุทรทะเลมหาสมุทรแบ่งตามลักษณะของพืชและสัตว์ได้หลายเขต (รูปที่ 6)
1. เขตชายฝั่ง คือเขตที่อยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลสูงสุดกับน้ำทะเลต่ำสุด คลื่นซัดอยู่เกือบตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตในเขตนี้จึงยึดตัวกับพื้นหรือฝังตัวอยู่ในโคลน บางชนิดหลบอยู่ในแอ่ง บางชนิดมีโคลงสร้างที่ทำให้มันมีชีวิตอยู่ได้แม้จะไม่มีน้ำทะเลเหลืออยู่เลย บางชนิดขุดรูในหินและอาศัยอยู่ที่นั่น
2. เขตทะเลตื้น คือเขตระหว่างระดับน้ำต่ำสุดกับขอบนอกสุดของไหล่ทวีป น้ำในเขตนี้ไม่ลึกมากและอุ่นเพราะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ อาหารอุดมสมบูรณ์ สิ่งมีชีวิตมีมากมายหลายชนิด
3. เขตน้ำลึกลาดทวีป คือเขตระหว่างระดับน้ำลึก 120 เมตรกับ 1,800 เมตร ตอนบนน้ำได้รับแสงสว่างบ้างแต่พืชมีน้อย ที่พื้นมีสัตว์ทะเลมากแต่พืชก็มีน้อยอีก การทับถมของตะกอนในเขตนี้เป็นไปอย่างช้าๆ มีพวกแคลเซียมซึ่งส่วนใหญ่คือเปลือกของพวกแพลงก์ตอน และพวกซิลิกาซึ่งส่วนใหญ่เป็นไดอะตอม และซากของฟองน้ำ
4. เขตทะเลลึก อยู่ ถัดเขตชายฝั่ง สิ่งมีชีวิตในเขตนี้รวมเอาพวกแพลงก์ตอน ซึ่งลอยอยู่ในน้ำและสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ พืชที่มีมากคือสาหร่ายและไดอะตอม สัตว์มีมากมายหลายชนิด ซากพืชและสัตว์ในส่วนนี้ที่เน่าเปื่อยไปและส่วนที่เป็นอนินทรียสารมีส่วน ช่วยทำให้เกิดหินชั้นขี้น
5. เขตบาดาล คือส่วนที่อยู่ใต้ระดับลึก 1,800 เมตรลงไป เขตนี้ไม่ได้รับแสงแดด อุณหภูมิของน้ำเกือบจะถึงขีดเยือกแข็ง ความกดมากกว่า 1 ตันต่อเนื้อที่ 1 ตารางเซนติเมตร พืชที่ต้องการแสงแดดไม่มีในเขตนี้ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารต้องกินของที่จมลงมาจากตอนบนที่น้ำถูกแสงแดด เปลือกและกระดูกสัตว์ที่อาศัยอยู่ที่พื้นของเขตนี้แสดงให้เห็นว่า สัตว์ที่จะอาศัยอยู่ใส่วนนี้ได้ต้องมีลักษณะพิเศษจึงจะมีชีวิตอยู้ได้


รูปที่ 6 การแบ่งเขตทะเลมหาสมุทรตามลักษณะของพืชและสัตว์

การเคลื่อนไหวของน้ำทะเล
คลื่น คลื่นส่วนใหญ่เกิดจากลม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ตลอดจนแผ่นดินถล่มที่พื้นท้องมหาสมุทรทำให้เกิดคลื่นได้ด้วย คลื่นชนิดนี้เรียกว่า ซูนามิ นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง แต่ทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายอย่างมากมายเมื่อคลื่นชนิดนี้ซัดเข้าหา ฝั่ง
เมื่อ ลมพัดมากระทบกับพื้นน้ำ จะทำให้น้ำนูนสูงขึ้นมาคล้ายสันเขามากมายหลายแนวด้วยกัน เรียกว่า คลื่น (รูปที่ 7) ความสูงของคลื่นและระยะห่างของคลื่นทำให้ทราบถึงความแรงของลม เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า คลื่นหัวเรียบ เพราะมันจะรวมเอาคลื่นขนาดเล็กเข้าไปด้วย คลื่นหัวเรียบจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เป็นอัตราส่วนกับความยาวของคลื่น ตอนนี้เป็นคลื่นน้ำลึก คลื่นเมื่อซัดเข้าไปถึงฝั่งจะกระทบกับพื้น ทำให้คลื่นสูงขึ้นและระยะห่างของคลื่นน้อยลง เมื่อคลื่นเข้าใกล้ฝั่งที่มีหัวแหลม ส่วนหนึ่งจะกระทบกับหัวแหลมก่อนส่วนอื่น แนวหน้าสุดของคลื่นจะเปลี่ยนรูปเป็นรูปโค้งขนานไปกับฝั่ง เรียกว่า เกิดการหักเหของคลื่น (รูปที่ 8) ยิ่งเข้าฝั่งเข้าไปที่จุดจุดหนึ่งโมเลกุลของน้ำจะพบกับสิ่งเสียดทานที่พื้น ท้องมหาสมุทร ทำให้ผิวหน้าของคลื่นแตกกลายเป็นคลื่นหัวแตกน้ำจะเป็นฟองไหลขึ้นไปที่ฝั่ง เรียกว่า ฟองคลื่นบนหาด (รูปที่ 9)


รูปที่ 7 คลื่น



รูปที่ 8 การหักเหของคลื่น



รูปที่ 9 คลื่นหัวแตก

น้ำขึ้นน้ำลง คือปรากฏการณ์ที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและต่ำลง น้ำจะขึ้นสองครั้งในระยะเวลา 24 ชั่วโมง 52 นาที น้ำขึ้นน้ำลงนั้นเกิดจาการที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ดึงดูดโลก แรงดึงดูดมีผลต่อทั้งพื้นดินและพื้นน้ำ แต่น้ำเคลื่อนไหวง่ายกว่าจึงถูกดึงดูดได้ง่ายกว่า
ดวง อาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก เรียงรายอยู่ในระดับราบใกล้เคียงกัน แต่จะเปลี่ยนที่กันอยู่เรื่อย ๆ แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่มีต่อโลกมีอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์ อืทธิพลของดวงจันทร์จึงมีมากกว่าดวงอาทิตย์ ถ้าดวงอาทิตย์และดวงจันร์อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันจะช่วยกันดึงดูดน้ำทำให้ น้ำขึ้นสูงผิดปกติ
สำหรับ ดวงจันทร์นั้นจะดึงดูดน้ำที่ผิวโลกส่วนหนึ่งให้มารวมอยู่ทางด้านที่ใกล้กับ ดวงจันทร์มากที่สุด เรียกว่า น้ำขึ้น ในขณะที่ด้านตรงข้ามของโลกจะมีน้ำขึ้นเช่นเดียวกันแต่ระดับต่ำกว่าเล็กน้อย (รูปที่ 10)


รูปที่ 10 การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง


จาก ภาพจะเห็นว่าระยะทางระหว่างดวงจันทร์กับโลกเป็น 59 เท่าของรัศมีของโลก (กจ = 59 ร) ระยะทางระหว่างศูนย์กลางของโลกถึงดวงจันทร์เป็น 60 เท่า (ลจ = 60 ร) และระยะทางจากดวงจันทร์ถึงโลกจุดที่ห่างจากดวงจันทร์มากที่สุดเป็น 61 เท่า (ขจ = 61 ร) แรงดึงดูดระหว่างของสองสิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะทางกำลังสอง แรงดึงดูดที่ ก ล และ ข จะเป็น (1/59)2 ,(1/60)2 ,(1/61)2 หมายความว่าดวงจันทร์จะดึงดูดน้ำที่จุด ก ด้วยกำลังแรงมากว่าดึงดูดโลกซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ ล เนื่องจากความแตกต่างของแรงดึงดูด น้ำที่จุด ก ซึ่งอยู่ใกล้กับดวงจันทร์มากที่สุดจะถูกดึงดูดได้มากกว่าที่จุด ล นืที่จุด ก จะไหลออกห่างจากจุด ล ที่จุด ข ซึ่งอยู่ไกลจากดวงจันทร์มากที่สุด แรงดึงดูดของดวงจันทร์จะมีน้อยกว่าที่จุด ก หรือ ล น้ำส่วนหนึ่งจะเหลืออยู่ที่จุด ข มีปริมาณเท่า ๆ กับน้ำส่วนที่ถูกดวงจันทร์ดึงดูดไปที่จุด ก หรือ ล น้ำส่วนหนึ่งจะอยู่ที่จุด ข มีปริมาณเท่า ๆ กับน้ำส่วนที่ถูกดวงจันทร์ดึงดูดไปที่จุด ก ที่บริเวณ ค และ ง น้ำถูกดึงดูดไประดับน้ำจึงต่ำ เรียกว่า น้ำลง การที่โลกหมุนรอบตัวเองในเวลา 24 ชั่วโมง ทำให้จุดทุกจุดที่อยู่บนเส้น ลองติจูด เดียวกันมีน้ำขึ้นทุก 12 ชั่วโมง 26 นาที
ใน ทะเลเปิดระดับน้ำขึ้นและน้ำลงไม่แตกต่างกันมากนัก ที่แถบชายฝั่งทวีปต่าง ๆ จะต่างกันมากกว่า ยิ่งในอ่าวแคบ ๆ ที่ปากอ่าวกว้างมากความแตกต่างระหว่างน้ำขึ้นน้ำลงยิ่งมาก เช่นที่อ่าวฟันดี ต่างกัน 6 - 15 เมตร ระดับน้ำจะค่อย ๆ สูงขึ้นและค่อย ๆ ลดลง แต่ที่ชายฝั่งบางแห่งน้ำขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นที่ชายฝั่งของจีนและอินเดีย เรียกว่า สันน้ำท้น คือน้ำไหลเข้ามาคล้ายกับกำแพงสูง เวลาน้ำขึ้นไหลผ่านช่องแคบหรือไหลเข้าไปในอ่าวหรือไหลผ่านระหว่างเกาะ จะเกิดกระแสน้ำขึ้นลงทำให้วัตถุที่พื้นท้องมหาสมุทรบริเวณนั้นเคลื่อนที่ได้
กระแสน้ำมหาสมุทร กระแสน้ำมหาสมุทรคือการไหลของน้ำทะเลตามแนวราบอย่างสม่ำเสมอกระแสน้ำ มหาสมุทรจะช่วยปรับอุณหภูมิของพื้นผิวโลก ช่วยถ่ายเทความร้อน (รูปที่ 11)
มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดมีกระแสน้ำมหาสมุทร
1. ลม ลมทำให้เกิดกระแสน้ำมหาสมุทรโดยการที่ลมพัดมาเหนือน้ำ แล้วทำให้น้ำไหลตามมาด้วย ลมแน่ทิศที่ทำให้เกิดกระแสน้ำ คือ ลมค้าและลมฝ่ายตะวันตก ลมค้าซึ่งพัดแรงแรงและพัดสม่ำเสมอจะทำให้เกิดกระแสน้ำศูนย์สูตรแถบเส้น ศูนย์สูตร ที่แถบละติจูด 40 องศา ลมพัดจากตะวันตกไปตะวันออกเรียกว่า ลมฝ่ายตะวันตก ลมนี้จะพัดพาน้ำให้ไหลจากตะวันตกกลับไปทางตะวันออก เช่น กระแสน้ำแอตแลนติกเหนือ กระแสน้ำแปซิฟิกเหนือ
2. ความแตกต่างของความแน่นของน้ำทะเล น้ำทะเลในแถบขั้วโลกเย็นมีความแน่นมากจะจมลงและไหลมาตามพื้นท้องมหาสมุทรมา ทางเส้นศูนย์สูตร น้ำที่ผิวหน้าทางเส้นศูนย์สูตรซึ่งร้อนจะไหลไปทางขั้วโลก
3. โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหรือแรงเฉ แรงเหวี่ยงหรือแรงเฉทำให้ทิศทางการไหลของกระแสน้ำเฉไปจากทิศทางที่ควรจะเป็น ทางซีกโลกเหนือจะเฉไปทางขวา ทางซีกโลกใต้จะเฉไปทางซ้าย
4. พื้นดินที่ขวางทางอยู่ เมื่อกระแสน้ำไหลไปพบทวีปหรือผืนดินที่ขวางอยู่ กระแสน้ำจะเปลี่ยนทิศทางการไหล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับรูปร่างของพื้นดินที่ขวางทางอยู่ เช่น กระแสน้ำศูนย์สูตรในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือไปถึงชายฝั่งประเทศบราซิล กระแสน้ำจะเปลี่ยนทางไหลเลียบชายฝั่งขึ้นไปทางเหนือ ไปพบหมู่เกาะแอนติลลิสแล้วแยกเป็นสองสาย สายหนึ่งข้ามทะเลแคริบเบียนเข้าไปในอ่าวเม็กซิโกอีกสายหนึ่งไหลผ่านไปทาง ตะวันออกของหมู่เกาะแอนติลลิส หรือกระแสน้ำศูนย์สูตรในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ไหลไปถึงชายฝั่งบราซิล ซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่มยื่นออกมา กระแสน้ำศูนย์สูตรจะเปลี่ยนทาง ส่วนหนึ่งจะไหลขึ้นไปทางเหนือ เข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนืออีกส่วนหนึ่งไหลลงมาทางใต้
5. ระดับน้ำที่แตกต่างกันจะทำให้มีกระแสน้ำมหาสมุทรได้



รูปที่ 11 กระแสน้ำมหาสมุทร
เกาะคือ พื้นดินที่สูงขึ้นมาจากพื้นท้องมหาสมุทรและมีน้ำล้อมรอบ มีขนากต่าง ๆ กันไปใหญ่บ้างเล็กบ้าง ถ้าเกาะหลาย ๆ เกาะเรียงรายกันเป็นแนวยาวเรียกว่า ทิวเกาะ ถ้าเกาะหลายเกาะรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเรียกว่า กลุ่มเกาะ เกาะแบ่งออกเป็นสองประเภท
1.เกาะ ริมทวีป เกาะขนาดใหญ่ส่วนมาก เช่น เกาะอังกฤษ กรีนแลนด์ แทสเมเนีย เป็นส่วนของแผ่นดินใหญ่มาก่อน ต่อมาพื้นดินส่วนที่อยู่ระหว่างเกาะกับทวีปยุบตัวลงไปใต้ระดับน้ำทะเล ส่วนที่ถูกตัดขาดออกไปกลายเป็นเกาะ พื้นน้ำระหว่างเกาะกับทวีปจะเป็นพื้นน้ำแคบ ๆ ตื้น ๆ เรียกว่า ช่องแคบ เกาะประเภทนี้มีพืช สัตว์ และโครงสร้างของหินคล้ายคลึงกับทวีปที่อยู่ใกล้เคียงกัน
2. เกาะกลางสมุทร อยู่กลางมหาสมุทร เกาะประเภทนี้คือ ส่วนยอดของภูเขาที่อยู่ที่พื้นท้องมหาสมุทร เกาะบางเกาะเป็นเกาะภูเขาไฟที่สูงและทุรกันดาร เรียกว่า เกาะภูเขาไฟ บางเกาะเกิดจากตัวปะการัง เรียกว่า เกาะปะการัง เป็นเกาะที่มีความแตดต่างระหว่างส่วนสูงกับส่วนต่ำน้อยมาก
เกาะ ภูเขาไฟเกิดจากลาวาทับถมกันจนสูงพ้นระดับน้ำขึ้นมา ภูเขาไฟส่วนใหญ่ยังคุอยู่และมีแผ่นดินไหวบ่อย ๆ เกาะภูเขาไฟมักอยู่เรียงรายกันเป็นแนวยาว มีรูปโค้งและอยู่ใกล้ ๆ ขอบของร่องลึกบาดาล
เกาะ ปะการังเกิดจากตัวปะการังซึ่งเป็นสัตว์ทะเลอาศัยอยู่ในน้ำที่อุณหภูมิสูงก ว่า 20 องศาเซลเซียส (68 องศาฟาเรนไฮน์) น้ำลึกประมาณ 45 เมตรและไม่มีพวกทรายแป้งลอยปนอยู่ในน้ำ ตัวปะการังอยู่กันเป็นกลุ่ม มันผลิตปูนขาวได้และดูดปูนขาวจากน้ำทะเลได้ เมื่อตายไปจะกลายเป็นหินปูน ตัวเป็นปะการังทำให้เกิดพืดหินปะการังชายฝั่งที่รอบ ๆ เกาะริมทวีป เกาะภูเขาไฟ หรือที่รอบ ๆ ทวีป ตัวปะการังที่อยู่เหนือภูเขาหรือภูเขาไฟใต้ทะเลที่กลางมหาสมุทรอาจถับถมกัน ทำให้ยอดเขาสูงขึ้นเป็นเกาะปะการังได้ บางครั้งตัวปะการังทับถมกันอยู่รอบ ๆ เกาะภูเขาไฟกลางมหาสมุทร ต่อมาภูเขายุบจมหายไปใต้น้ำทำให้เป็นเกาะปะการังที่มีรูปร่างกลม มีน้ำตรงกลางที่เรียกว่า เกาะอะโทล (รูปที่ 12)

รูปที่ 12 เกาะอะโทล
ชายฝั่ง
ชายฝั่งยกตัว เมื่อขอบของทวีปมีระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ หรือระดับน้ำทะเลต่ำลง ส่วนซึ่งเคยอยู่ใต้ระดับน้ำจะโผล่ขึ้นมา ไหล่ทวีปส่วนหนึ่งจะกลายเป็นที่ราบชายฝั่งไป เกิดแนวชายฝั่งใหม่ขึ้นเนื่องจากไหล่ทวีปส่วนใหญ่ค่อย ๆ ลาดลงและราบเรียบ แนวชายฝั่งใหม่จะค่อนข้างเรียบ ที่ราบชายฝั่งจะแบนราบและเป็นที่ลุ่มน้ำขัง คลื่นไม่สามารถจะซัดเข้ามาถึงแนวชายฝั่งใหม่ได้เพราะน้ำตื้น คลื่นจะแตกเสียก่อน ตอนที่คลื่นแตกจะมีแนวสันดอนขานไปกับฝั่ง ระหว่างแนวสันดอนกับชายฝั่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม สันดอนบางแห่งจะขาดตอน เวลาน้ำขึ้นน้ำลงจะมีกระแสน้ำขึ้นลงพาทรายเข้ามา น้ำจากบนฝั่งจะพาวัตถุน้ำพามาถับถมด้วย ทำให้สันดอนใกล้ฝั่งเข้ามาเรื่อย ๆ (รูปที่ )
รูปที่ 13 ก ชายฝั่งยกตัว
รูปที่ 13 ข ชายฝั่งยกตัว

ชายฝั่งยุบตัว เมื่อขอบของลาดทวีปลดระดับลงหรือระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำจะไหลบ่าท่วมขอบของทวีป ทำให้ส่วนนั้นจมหายไปใต้น้ำ กระแสน้ำขึ้นลงจะไหลเข้าไปในแม่น้ำได้ไกลขึ้น น้ำทะเลจะไหลท่วมส่วนที่จมหายไปใต้น้ำ ตอนที่เคยเป็นปากแม่น้ำมาก่อนแล้วพื้นดินสองฝั่งของแม่น้ำจมหายไปใต้น้ำ จะทำให้เกิดเป็นอ่าวรูปร่างยาวล้ำเข้าไปในพื้นดิน เรียกว่า ชะวากทะเล ในกรณีที่แนวชายฝั่งนั้นเป็นเนินเขาหรือภูเขามาก่อนแล้วมีการลดระดับลง ตรงที่ปากแม่น้ำจมหายไปใต้น้ำจะเป็นอ่าวที่น้ำลึก เรียกว่า อ่าวรีอา พื้นดินที่เหลือออยู่จะเป็นหัวแหลมหรือเกาะ ในบริเวณที่เป็นภูเขาและเคยมีธารน้ำแข็งหุบเขาปกคลุมแล้วจมหายไปใต้น้ำ หุบเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นอ่าวรูปยาว แคบ ลึก และสูงชันเรียกว่า อ่าวฟยอร์ด ชายฝั่งแบนี้มีที่ราบน้อยมาก อาจมีบางตอนที่น้ำตื้นเพราะมีวัตถุที่น้ำแข็งพามาทิ้งไว้ ห่างออกไปมีเกาะเล็ก ๆ มากมาย เกาะเหล่านี้เดิมเป็นส่วนของแผ่นดินมาก่อน แล้วถูกตัดขาดออกไปเพราะ พื้นดินส่วนหนึ่งจมหายไปใต้น้ำ (รูปที่ 14)

ชายฝั่งรีอา
ชายฝั่งฟยอร์ด
รูปที่ 14 ชายฝั่งยุบตัว
ชายฝั่งคงระดับพบ ในบริเวณที่ระดับน้ำทะเลกับระดับพื้นดินไม่เปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลานานมาก การเปลี่ยนมีแต่การทับถมของวัตถุใหม่ ๆ ในตอนที่พื้นดินกับพื้นน้ำจดกัน (รูปที่ 15) ชายฝั่งที่จัดเข้าไว้ในประเภทนี้คือ
    1. ชายฝั่งดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
    2. ชายฝั่งที่เกิดจากลาวาทับถมกันใกล้ ๆ ทะเล
    3. ชายฝั่งที่เกิดจากการเลื่อนตัวของหิน
    4. ชายฝั่งที่มีพืดหินปะการังอยู่ด้วย

ชายฝั่งดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

ชายฝั่งที่เกิดจากลาวาทับถมกันใกล้ ๆ ทะเล
 

ชายฝั่งที่เกิดจากการเลื่อนตัวของหิน
รูปที่ 15 ชายฝั่งคงระดับ

ชายฝั่งผสม  คือ ฝั่งที่เกิดจากการที่ระดับพื้นน้ำกับระดับพื้นดินเปลี่ยนแปลงหลายครั้งด้วย กันตอนแรกพื้นดินลดระดับลง ทำให้มีชะวากทะเลและอ่าวรีอา ต่อมาพื้นดินมีระดับสูงขึ้น เกิดมีที่ราบชายฝั่ง สันดอนนอกฝั่ง และทะเลสาบน้ำเค็ม เช่นที่ตอนกลางของชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา

ที่มา  marine.tmd.go.th

10 อันดับทะเลที่ใหญ่ที่สุด

"ทะเลจีนใต้" (South China Sea)
ตอนที่ ๒ นี้จะได้กล่าวถึงอันดับที่ ๒ คือ
.
"ทะเลแคริเบียน" 
(Caribbean Sea)
..

.
.
ทะเลแคริเบียน เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่ง
ของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก
ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริเบียน โดยทางทิศใต้จด
ทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทมศเม็กซิโกและ
อเมริกากลาง ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลิส ได้แก่
เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาไมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะ
แอนทิลลิสใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะแอนทิลลิสน้อย
 (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะโดมินิกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวัน
ออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริเบียน หมู่เกาะต่างๆในทะเลนี้ และชายฝั่ง
ที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อ "ภูมิภาคแคริเบียน"
.
.
.








.
ทะเลแคริเบียนเป็นหนึ่งในทะเลน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ
2,754,000 ตารางกิโลเมตร (1,063,000 ตามรางไมล์) จุดที่ลึกที่สุด
ของทะเลนี้คือ "Cayman Trough" อยู่ระหว่างคิวบาและจาไมกา ที่
ความลึก 7,686 เมตร (25,220 ฟุต) ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชายฝั่งแคริ
เบียนมีอ่าวอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวเวนเนซุเอลา อ่าวดาเรียน อ่าวโมสกีโตส
และอ่าวฮอนดูรัส
.
.
.



.

อันดับ ๓
.
"ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน"
(Mediterranean Sea)
.

.
.

..
เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่
อยู่ทางใต้ และทวีปเอเซียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ
2.5 ล้านตารางกิโลเมตร
ประเทศที่มีดินแดนติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
1. ฝรั่งเศส
2. สเปน
3. อิตาลี
4. บอสเนีย
5. กรีซ
6. ตุรกี
7. ไซปรัส
8. ซีเรีย
9. อิสราเอล
10. อียิปต์
11. ลิเบีย
12. ตูนิเซีย
13. แอลจีเรีย
14. โมร็อกโค
.




.
.



.
.
.








 ที่มา fws.cc

มหาสมุทร

มหาสมุทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาสมุทร เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก แบ่งออกเป็น 5 มหาสมุทรโดยใช้ทวีปและกลุ่มเกาะขนาดใหญ่เป็นแนวแบ่ง ดังนี้

The world (global) ocean mappemonde océanique Serret
มหาสมุทรทั่วโลกมีพื้นที่รวม 361 ล้านตารางกิโลเมตร ปริมาตร 1,370 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,790 เมตร ไม่นับรวมทะเลที่ไม่เชื่อมต่อกับมหาสมุทร อาทิ ทะเลแคสเปียน
มวลรวมของส่วนอุทกภาคมีค่าประมาณ 1.4×1021 กิโลกรัม คิดเป็น 0.023 % ของมวลโลก
องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) เป็นผู้กำหนดเส้นแบ่งเขตระหว่างแต่ละมหาสมุทร ยกตัวอย่างเช่น มหาสมุทรใต้เริ่มจากชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกาไปถึงละติจูด 60 องศาใต้ พื้นที่ที่มีขนาดเล็กกว่ามหาสมุทร เรียกว่า ทะเล อ่าว ช่องแคบ ฯลฯ

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ไหล่ทวีป

ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่ตื้นที่สุดและอยู่ติดกับส่วนที่เป็นทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป พื้นของไหล่ทวีปบางตอนจะเรียบ บางตอนมีร่องยาว บางตอนมีสันเนิน บางตอนมีแอ่งกลม บางตอนมีเนินเขา บางส่วนเป็นหิน บางส่วนปกคลุมด้วยโคลน ทราย หรือกรวด
ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบกรรมวิธีปรับระดับ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวแปรรูปของเปลือกโลก ไหล่ทวีปจะมีระดับสูงขึ้นและมีขนาดกว้างออกไป เพราะมีวัตถุต่าง ๆ จากพื้นดินมาทับถมอยู่ ตัวกระทำที่นำเอาวัตถุเหล่านั้นมาคือ แม่น้ำ ลมและสิ่งที่หลุดร่วงจากฝั่งจากการกระทำของทะเลมหาสมุทรเอง ถ้าชายฝั่งจมตัวลงน้ำทะเลจะไหลท่วมขึ้นไปถึงส่วนที่ป็นที่ราบชายฝั่ง ไหล่ทวีปจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าชายฝั่งยกตัวสูงขึ้นไหล่ทวีปอาจกลายเป็นที่ราบชายฝั่งไป นอกจากนี้ไหล่ทวีบยังเป็นที่อยู่ของสัตว์มากมายอีกด้วย

[แก้] ลาดทวีป

ลาดทวีปอยู่ถัดจากไหล่ทวีป มีความลาดชันมาก 65 กิโลเมตรต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตร ลาดทวีปในที่ต่างๆ มีความกว้างแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะเป็นตอนที่มีการเปลี่ยนระดับ ลาดทวีปนี้เป็นส่วนขอบของเปลือกโลกที่เรียกว่าไซอัล
ที่ลาดทวีปและที่ขอบๆ ของไหล่ทวีปบางตอนมีหุบเขาลึกอยู่ระหว่าง หุบผาชันใต้ ทะเล หุบผาชันใต้ทะเลบางแห่งมีสาขาอยู่ด้วย ก้นหุบผาชันใต้ทะเลส่วนใหญ่มีความลึก 1,800-2,000 เมตร ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล สาเหตุของการเกิดหุบผาชันใต้ทะเลนี้ยังไม่ทราบแน่นอน มีการสันนิษฐานกันหลายอย่าง บ้างว่าเนื่องจากการเปลี่ยนระดับของหิน บ้างว่าเพราะคลื่นขนาดใหญ่ทำให้เกิดกระแสน้ำซึ่งไหลแรง ทำให้ส่วนนั้นสึกกร่อนไป บ้างว่าน้ำใต้ดินบริเวณนั้นลดน้อยลงทำให้เกิดการยุบตัว

ส่วนต่างๆ ของทะเลมหาสมุทร

[แก้] พื้นท้องมหาสมุทร

พื้นท้องมหาสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทร ช่วงนี้ไม่ได้ราบเรียบแต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วย ได้แก่สันเขา ซึ่งแคบบ้าง กว้างบ้าง ที่ราบสูง แอ่งรูปกลม แอ่งรูปยาว ภูเขา เช่น สันเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติค บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะซอร์ส และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ใต้ระดับน้ำทะเลคือหมู่เกาะฮาวาย สันเขาแห่งนี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง เป็นตัวอย่างของแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทร

[แก้] ภูเขาใต้ทะเล

ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร ภูเขาใต้ทะเลบางลูกมียอดตัด เรียกว่า กีย์โอต์พบมากที่ตอนกลางและที่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคระหว่างหมู่ เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวายยอดของภูเขากีโอต์อยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200 - 1,800 เมตรเดิมอาจเป็นยอดภูเขาไฟแล้วคลื่นทำให้สึกกร่อนไปหรืออาจมีปะการังมาเกาะ เหนือยอดเขาทำให้ยอดตัด ต่อมาพื้นท้องมหาสมุทรลดระดับต่ำลงหรือน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นเลยจมหายไปใต้ น้ำ

[แก้] ร่องลึกบาดาลและเหวทะเล

ร่องลึกบาดาลและเหวทะเล ร่องลึกบาดาลเป็นแอ่งลึกรูปยาวและขอบสูงชันอยู่ที่พื้นท้องมหาสมุทร ร่องลึกบาดาลอยู่ค่อนมาทางลาดทวีปหรือใกล้เกาะ เช่น ร่องลึกบาดาลอาลิวเซียนร่องลึกบาดาลมินดาเนา ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ร่องลึกบาดาลชวา ส่วนเหวทะเลหมายถึงแอ่งลุ่มที่มีความลึกเกินกว่า 600 เมตร กำเนิดของร่องลึกบาดาลนี้ไม่เป็นที่ทราบกันแน่นอน คาดกันว่าเกิดจากการคดโค้งของพื้นท้องมหาสมุทร และร่องลึกบาดาลเป็นส่วนที่ต่ำ แต่มีร่องลึกบาดาลบางแห่งมีลักษณะคล้ายหุบเขาทรุด แนวที่มีร่องลึกบาดาลนั้นเป็นแนวที่เปลือกโลกยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ เพราะแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายครั้งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ใต้ร่อง ลึกบาดาลเหล่านั้นลงไป

[แก้] อุณหภูมิ

อุณหภูมิของน้ำทะเล อุณหภูมิของน้ำทะเลนั้นขึ้นอยู่กับการแผ่รังสีดวงอาทิตย์มากกว่าความร้อนจากแก่นโลกหรือกัมมันตภาพรังสีจากพื้นท้องมหาสมุทร อุณหภูมิของน้ำทะเลจะต่างกันทั้งทางแนวราบ คือจากเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลก และทางแนวดิ่ง คือจากระดับน้ำทะเลลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรทางแนวราบนั้นที่เส้นศูนย์สูตรอุณหภูมิเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 26 องศาเซลเซียส ( 80 องศาฟาเรนไฮน์) ที่ขั้วโลกประมาณ -2 องศาเซลเซียส (28องศาฟาเรนไฮน์) ทางแนวดิ่งที่แถบอากาศร้อนอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดร็วจากระดับน้ำทะเลถึง ระดับลึกประมาณ 1,080 เมตร อุณหภูมิที่ระดับนี้ประมาณ 4 องศาเซลเซียส จากระดับลึก 1,080 – 1,800 เมตร อุณหภูมิลดลง พ้นระดับนี้ลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรอุณหภูมิเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ประมาณ 2 องศาเซลเซียส ที่ขั้วโลกอุณหภูมิที่พื้นท้องมหาสมุทรประมาณ 2 องศาเซลเซียส

ที่มา wikipedia.org